น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกับการต้านเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยงานวิจัย Dr. Fabian Dayrit, Ph.D. และ Dr. Mary Newport

จากวิจัยจากชาวฟิลิปปินส์ ได้ค้นพบ ว่าน้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยต้านไวรัสโคโรน่า ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
จากวิจัยจากชาวฟิลิปปินส์ ได้ค้นพบ ว่าน้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยต้านไวรัสโคโรน่า ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

The Potential of Coconut Oil and its Derivatives as Effective and Safe Antiviral Agents Against the Novel Coronavirus (nCoV-2019)

Dr. Fabian Dayrit, Ph.D. และ Dr. Mary Newport ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ทำการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับศักยภาพของน้ำมันมะพร้าวในการต้านโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นบทความงานวิจัยที่น่าสนใจมากเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2563

ต้นฉบับสามารถอ่านได้ที่ Anteneo De Manila University เป็นภาษาอังกฤษ

(แปลจาก www.nexusnewsfeed.com )

ประวัติของน้ำมันมะพร้าวในการต้านไวรัสต่าง ๆ รวมถึงโคโรนาไวรัส

ประชากรที่อาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ และอยู่ไม่ไกลจากชายฝั่งของประเทศจีนจำได้ดีถึงเหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสในจีน

ในครั้งนั้นซึ่งเป็นปี 2003 เมื่อโรค SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) ได้เกิดระบาดขึ้นในประเทศจีน ได้มีผู้ติดเชื้อกว่า 7000 คนและมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 600 คน

แม้ว่าฟิลิปปินส์จะมีอาณาเขตที่อยู่ใกล้กับประเทศจีน และมีประชากรเชื้อสายจีนจำนวนมากในประเทศประมาณ 80 ล้านคน แต่กลับมีรายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรค SARS อยู่เพียง 14 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 2 รายเท่านั้น

แต่ในทางตรงกันข้าม แคนาดาซึ่งห่างออกไปหลายพันไมล์กลับมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนมากเนื่องจากการติดเชื้อ SARS จากประเทศจีนมากกว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ทฤษฎีหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาในขณะนั้นที่อธิบายว่าทำไมฟิลิปปินส์จึงมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อน้อยรายกว่า ก็เนื่องจากการใช้น้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหารอย่างแพร่หลาย

ฟิลิปปินส์เป็นผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 70% ของปริมาณน้ำมันมะพร้าวทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักวิจัยมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้วว่า กรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง (Medium Chain Fatty Acids : MCFA) และกรดลอริค (Lauric acid) ในน้ำมันมะพร้าวเป็นตัวการสำคัญในการทำลายไวรัส

Dr. Fabian Dayrit, Ph.D. และ Dr. Mary Newport เพิ่งทำการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับศักยภาพของน้ำมันมะพร้าวในการต่อสู้กับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังเป็นที่แพร่หลายในประเทศจีน นั้นคือ “สรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวและสารสกัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะที่เป็นสารต้านโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย (The Potential of Coconut Oil and its Derivatives as Effective and Safe Antiviral Agents Against the Novel Coronavirus (nCoV-2019)”

โดย Dr. Fabian Dayrit, Ph.D. และ Dr. Mary Newport  Anteneo De Manila University

ลองอ่านงานวิจัยของ Dr. Fabian Antonio Dayrit (GS’67, HS’71, BS เคมี ’75) และ Dr. Mary Newport จาก บริษัท Spring Hill Neonatolody, Inc. เกี่ยวกับการใช้น้ำมันมะพร้าวในการเป็นสารต้านโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีความปลอดภัย

ในขณะที่เราเขียนบทความนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วโลกเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (nCoV-2019) (ปัจจุบันใช้ชื่อ COVID-19) ซึ่งได้แพร่กระจายออกนอกประเทศจีนไปแล้ว ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาสำหรับ nCoV-2019 และยังแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กับโรค SARS (Zhou et al., 2020) ซึ่งเป็น โคโรนาไวรัสที่มีการแพร่ระบาดในปี 2003

นักวิจัยหลายคนได้ทำการผลิตยาโดยการเล็งเป้าหมายไปยังเอนไซม์ protease ในโคโรนาไวรัส แต่การทดสอบยาเหล่านี้ยังต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือน แต่เหตุการณ์จะเป็นเช่นไร หากปัจจุบันมีสารที่สามารถต้านโคโรนาไวรัสอยู่แล้วและมีความปลอดภัยที่ได้พิสูจน์กันมาแล้ว?

เป็นที่ทราบกันมานานหลายปีแล้วว่า กรดลอลิก (Lauric Acid) (C12) และ โมโนลอริน (Monolaurin) และสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีฤทธิ์ต้านไวรัสที่สำคัญ กรดลอลิก (Lauric Acid) เป็นกรดไขมันสายกลางที่เป็นส่วนประกอบซึ่งคิดเป็นประมาณ 50% ของน้ำมันมะพร้าว ส่วน monolaurin เป็นสารที่ผลิตโดยธรรมชาติจากเอนไซม์ของร่างกายเมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าว และยังสามารถสกัดเป็นสารบริสุทธิ์ออกมาในรูปแบบของอาหารเสริม

เป็นที่ประจักษ์มาแล้วว่า โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium lauryl sulfate) ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวทั่วไปที่ทำจากกรดลอลิก (Lauric Acid) มีคุณสมบัติในการต้านไวรัส ดังนั้นกรดลอลิก (Lauric Acid),โมโนลอริน (Monolaurin) และ Sodium lauryl sulfate (ซึ่งรู้จักกันในนาม Sodium dodecyl sulfate) ได้ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเนื่องจากคุณสมบัติการต้านไวรัสของสารดังกล่าว

กลไกการออกฤทธิ์
ได้มีการเสนอกลไก 3 ประการ เพื่ออธิบายคุณสมบัติในการต้านไวรัสของกรดลอลิก (Lauric Acid) และโมโนลอริน Monolaurin กล่าวคือ 

  • ประการแรก สารดังกล่าวจะทำให้เกิดการแตกตัวของไวรัสที่ห่อหุ้ม
  • ประการที่สอง สารดังกล่าวสามารถทำการยับยั้งขั้นตอนการเติบโตในวงจรการเจริญพันธุ์ของไวรัส
  • ประการที่สาม สารดังกล่าวสามารถป้องกันการจับตัวของโปรตีนไวรัสกับเซลล์ของเหยื่อที่ไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่

1. การแตกตัวของเยื่อหุ้มไวรัส คุณสมบัติในการต้านไวรัสของกรดลอลิก (Lauric Acid)และโมโนลอริน (Monolaurin) ได้ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกโดย Sands และผู้ร่วมงาน (1979) และต่อมาโดย Hierholzer & Kabara (1982) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Hierholzer & Kabara ได้แสดงให้เห็นว่าในการเพาะเลี้ยงเซลล์ โมโนลอริน (Monolaurin) สามารถลดการติดเชื้อได้มากกว่า 99.9% ของ RNA และ DNA มนุษย์ที่ถูกห่อหุ้มด้วยไวรัส จำนวน 14 สาย โดย monolaurin ได้ทำหน้าที่ในการทำลายไวรัสห่อหุ้ม ต่อมา Thormar และผู้ร่วมงาน (1987) ได้ทำการยืนยันถึงความสามารถของ กรด lauric และ monolaurin ในการยับยั้งไวรัสโดยการสลายตัวของเยื่อหุ้มเซลล์ Sodium lauryl sulfate  ยังได้แสดงให้เห็นคุณสมบัติในการละลายและทำลายไวรัสที่ห่อหุ้มอีกด้วย (Piret 2000, 2002)

2. ทำการยับยั้งการเจริญพันธุ์ของไวรัส ไวรัส Junin (JUNV) เป็นสาเหตุหลักของไข้เลือดออกอาร์เจนติน ในการเปรียบเทียบระหว่างกรดไขมันอิ่มตัวจาก C10 ถึง C18 กับการติดเชื้อ JUNV Bartolotta และผู้ร่วมงาน (2001) ได้แสดงให้เห็นว่ากรดลอลิก (Lauric Acid) เป็นสารยับยั้งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการศึกษากลไกพบว่า กรดลอลิก (Lauric Acid) สามารถยับยั้งวงจรการเจริญพันธุ์ของ JUNV ให้ช้าลง จากภาพกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนได้แสดงให้เห็นว่า JUNV เป็นไวรัสที่ห่อหุ้มด้วย glycoproteins ซึ่งฝังอยู่ในชั้นไขมัน bilayer และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดการเจริญพันธุ์ของไวรัส (Grant et al., 2012) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ nCoV-2019

3. ป้องกันการจับตัวของโปรตีนไวรัสกับเซลล์ของเหยื่อที่ไวรัสเข้าไปฝังตัว Hornung และผู้ร่วมงาน (1994) ได้แสดงให้เห็นว่า ในการปรากฏตัวของกรดลอลิก (Lauric Acid) การก่อตัวของเชื้อไวรัสตุ่มปากอักเสบจะถูกยับยั้งในลักษณะที่ขึ้นอยู่กับปริมาณของยาและสามารถทำการย้อนกลับได้: หลังจากการขจัดกรด lauric ออกไป พวกเขาสังเกตเห็นว่า กรดลอลิก (Lauric Acid) ไม่ได้มีผลต่อการสังเคราะห์โปรตีนของไวรัส แต่กลับทำการป้องกันการจับโปรตีน M ของไวรัส ไปยังเซลล์ของเหยื่อที่ไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่
แม้ว่ากรดลอริก ในน้ำมันมะพร้าวมีบทบาทสำคัญในการต้านไวรัส แต่กรด Capric (C10) และ Monocaprin ยังได้แสดงคุณสมบัติในการต้านไวรัสอื่น ๆ เช่น HIV-1 อีกด้วย (Kristmundsdóttir et al., 1999)

กรด Capric มีสัดส่วนประมาณ 7% ของน้ำมันมะพร้าว ดังนั้น จึงทำให้มีกรดไขมันอย่างน้อยสองชนิดในน้ำมันมะพร้าวและ Monoglycerides ที่มีคุณสมบัติในการต้านไวรัส Hilarsson และผู้ร่วมงาน (2007) ได้ทำการทดสอบการฆ่าเชื้อไวรัสของกรดไขมัน Monoglycerides และแอลกอฮอล์ไขมันต่อไวรัส Syncytial (RSV) และไวรัส Parainfluenza type 2 (HPIV2) ที่ระดับความเข้มข้น เวลา และระดับ pH ที่แตกต่างกัน

พวกเขารายงานว่า สารที่แสดงถึงคุณสมบัติในการต้านที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ Monocaprin (C10) ซึ่งยังแสดงถึงประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ A และการฆ่าเชื้อไวรัสที่สำคัญแม้ที่ระดับความเข้มข้นต่ำเพียง 0.06-0.12%

การใช้น้ำมันมะพร้าวและสารสกัด C12 ในสัตว์และมนุษย์

น้ำมันมะพร้าวและสารสกัดได้แสดงให้เห็นว่า มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสทั้งในมนุษย์และสัตว์ เนื่องจากคุณสมบัติในการป้องกันไวรัสและแบคทีเรียกับสัตว์นี้ จึงทำให้มีการนำน้ำมันมะพร้าวตลอดจนกรดลอลิก (Lauric Acid) และ Monolaurin มาใช้กับสัตว์เลี้ยงในฟาร์มและสัตว์เลี้ยงตามบ้าน โดยการนำไปเป็นอาหารเสริมให้แก่ไก่ หมู และ สุนัข (Baltic et al., 2017)

ในขณะเดียวกัน Monolaurin ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในการป้องกันไก่จากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกอย่างมีประสิทธิภาพ (van der Sluis, 2015) Li และผู้ร่วมงาน (2009) ได้เตรียมเจลที่มีส่วนผสมของ Monolaurin และพบว่า มันสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการต้านการเกิดซ้ำของไวรัส Simean immunodeficiency ในค่าง และ Kirtane และผู้ร่วมงาน (2017) ได้พัฒนาเจลที่มีส่วนผสม Monolaurin ในอัตราส่วน 35% เพื่อการใช้งานในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง

Sodium lauryl sulfate (SLS) ในระดับความเข้มข้นต่ำยังถูกนำไปใช้เพื่อยับยั้งเชื้อไวรัสในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม (de Sousa et al., 2019) SLS เป็นส่วนประกอบสำคัญในผ้าเช็ดทำความสะอาดในเชิงพาณิชย์และน้ำยาฆ่าเชื้อในห้องปฏิบัติการมาตรฐาน และเป็นสารผสมและในการเพิ่มประสิทธิภาพการซึมผ่านในการผลิตยาอีกด้วย

ในการศึกษาทางคลินิกขนาดเล็ก พบว่าน้ำมันมะพร้าวยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อเอชไอวี การทดลองในการต้านเชื้อเอชไอวีทางคลินิกครั้งแรกเกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ โดยการใช้น้ำมันมะพร้าว (45 มล. ต่อวัน) และ Monolaurin (ความบริสุทธิ์ 95% ในปริมาณ 800 มก. ต่อวัน) การศึกษานี้ได้ทำการทดลองกับผู้ป่วยเอชไอวีจำนวน 15 คน อายุตั้งแต่ 22 ถึง 38 ปี โดยจำแนกเป็นชาย 5 คน และหญิง 10 คน เป็นเวลา 6 เดือน ในช่วงเวลาการศึกษาดังกล่าว ได้มีผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียว และผู้ป่วย 11 รายได้แสดงจำนวน CD4 และ CD8 ที่สูงขึ้นหลังจากผ่านไป 6 เดือน (Dayrit, 2000)

ในการศึกษาอีกอัน ผู้ติดเอชไอวีจำนวน 40 รายที่มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4+T ที่น้อยกว่า 200 เซลล์/ไมโครลิตร ได้ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ Vergin Coconut Oil (VCO) (45 มล. ต่อวัน) และกลุ่มควบคุม (ไม่มี VCO) หลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ กลุ่ม VCO ได้แสดงจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4+T เฉลี่ยที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (Widhiarta, 2016)

สรุป
การศึกษาสัตว์และมนุษย์ในสภาพแวดล้อมการทดลอง ได้ให้ข้อมูลในการสนับสนุนศักยภาพของน้ำมันมะพร้าว กรด Lauric และสารสกัดที่เกี่ยวข้อง ในการเป็นสารที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการต้านไวรัส เช่น nCoV-2019 การศึกษากลไกเกี่ยวกับไวรัสอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่ายังมีอย่างน้อยสามกลไกที่อาจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการต้านไวรัสของน้ำมันมะพร้าว กรดลอลิก (Lauric Acid) และสารสกัดที่เกี่ยวข้อง มีความปลอดภัย และขณะที่ยังไม่มีทางออกในการรักษา nCoV-2019 เราจึงขอแนะนำให้ทำการศึกษาทางคลินิกให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ nCoV- 2019 การรักษานี้มีราคาที่ไม่แพงและปราศจากความเสี่ยง รวมทั้งอาจจะได้รับประโยชน์ที่มีอยู่อย่างมากมาย

ในขณะเดียวกัน เนื่องจากความปลอดภัยและความพร้อมในการใช้งานของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Vergin Coconut Oil) เราจึงขอแนะนำในการพิจารณาใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Vergin Coconut Oil) ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสและจุลินทรีย์อีกด้วย

ข้อเสนอในการศึกษาทางคลินิกเราสามารถนำเสนอให้มีการศึกษาทางคลินิกให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ nCoV-2019 ตามลำดับ ดังนี้:

  • กลุ่มที่ 1: กลุ่มควบคุม การดูแลตามมาตรฐาน
  • กลุ่มที่ 2: การดูแลตามมาตรฐาน + VCO (45 มล. ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ต่อวัน หรือมากกว่า)
  • กลุ่มที่ 3: การดูแลตามมาตรฐาน + Monolaurin (ความบริสุทธิ์ 95%, 800 มก. ต่อวัน) Monolaurin ได้รับการยอมรับในฐานะ GRAS โดย US FDA
  • กลุ่มที่ 4: การดูแลตามมาตรฐาน + Monocaprin (ความบริสุทธิ์ 95%, 800 มก. ต่อวัน) Monocaprin ได้รับการยอมรับในฐานะ GRAS โดย US FDA
  • กลุ่มที่ 5: การดูแลตามมาตรฐาน + SLS (เกรดยาคุณภาพ 100 มก./กก./วัน) ระดับความเป็นพิษ SLS: NOAEL ต่ำสุด (ปริมาณซ้ำ, ใช้กับหนู): 100 mg./กก./วัน (ระดับความเป็นพิษต่อตับ) (Bondi et al., 2015)

อ่านบทความเต็มได้ที่  Anteneo.edu

แปลจาก nexusnewsfeed.com 

Cr.แปลภาษาไทยโดย immor.co.th